ความเป็นมาของสาขาวิชา


ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

          คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เปิดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมครั้งแรกในปีการศึกษา 2539 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยเป็นหลักสูตรกลางของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ จนในปี 2549 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยเน้นการเรียนการสอนในด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม จากนั้นในปี 2553 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงหลักสูตรมีการแบ่งเป็น 2 แขนง ในชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม แขนงมลพิษสิ่งแวดล้อม และแขนงทรัพยากรธรรมชาติ และในปี 2558 ได้ปรับปรุงหลักสูตรโดยเน้นด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีแขนงวิชา  จากนั้นในปี 2563 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรโดยได้รวมกับสาขาวิชาชีววิทยา  เป็นหลักสูตรชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งเป็น 2 แขนวิชาคือแขนงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และแขนงวิชาชีววิทยา 

          ด้วยสถานการณ์ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งที่มาที่สำคัญคือภาคอุตสาหกรรม ทำให้หลายหน่วยงานได้ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมหลายข้อบังคับด้วยกัน เช่น ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูและ ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูและ สำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555  และระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน  พ.ศ. 2560 เป็นต้น

          หลักสูตรชีววิทยาสิ่งแวดล้อม แขนงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยใช้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559 และข้อบังคับข้างต้นเป็นแนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2565

เรียนอะไร

          เป็นการเรียนนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การจัดการป่าไม้ สัตว์ป่าทรัพยากรดินและน้ำ เป็นต้น ปัญหามลพิษในเขตเมืองเช่น การบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย การควบคุมมลพิษทางอากาศ และการจัดการกากอุตสาหกรรม เป็นต้น เรียนเกี่ยวกับการจัดการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แต่ละปีเรียนอะไร

          ปี 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และแคลคูลัส เป็นต้น

          ปี 2 เรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เช่น เคมีสิ่งแวดล้อม เคมีวิเคราะห์สารมลพิษ การจัดการขยะมูลฝอย นิเวศวิทยา เคมีอินทรีย์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์เพื่องานทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

          ปี 3 เรียนรายวิชาเฉพาะด้านทางสิ่งแวดล้อม เช่น การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางอากาศ เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การจัดการกากอุตสาหกรรม เป็นต้น

          ปี 4 เรียนรู้ในสถานประกอบการณ์ที่มีความร่วมมือ เช่น บริษัทยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท เอนไวรอนเมนทัล มูฟเม้นท์ จำกัด

อาจารย์ผู้สอน

          อาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงในแต่ละด้าน ประกอบด้วย

1.ื รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์
2. รองศาสตราจารย์ ดร. รณบรรจบ อภิรติกุล
3. รองศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ ชูอินทร์
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร  ผ่อนผัน
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฒาลิศา เนียมมณี
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนาวลัย อุฑารสกุล
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ กาหยี
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินาถ เจริญโภคราช
9. อาจารย์นภัสกร ทรัพย์เฟื่องฟู

สถานที่เรียนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

          สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ทำการเรียนการสอน ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร สาขาวิชามีการเน้นการเรียนในภาคปฏิบัติเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีหลังจากสำเร็จการศึกษา สาขาวิชามีห้องปฏิบัติการและเครื่องมือที่ทันสมัยในการตรวจวิเคราะห์คุณภพสิ่งแวดล้อม

จบแล้วทำงานอะไร

          สาขาวิชาออกแบบหลักสูตรให้เรียนรู้ในสถานประกอบการณ์ในชั้นปีที่ 4 เป็นการเรียนรู้การทำงานและมีโอกาสเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น นอกจากนี้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ดังนี้

  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเอกชน
  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์
  • เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้ควบคุมมลพิษอิสระหรือประจำโรงงานอุตสาหกรรม
  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อมประจำอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ เขตอนุรักษ์ต่างๆ
  • เจ้าหน้าที่ความยั่งยืนในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
  • นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐ
  • ครูวิทยาศาสตร์
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

ค่าเล่าเรียน

          ค่าเทอมเทอมละ 15,000 บาท

          ค่าแรกเข้าประมาณ 5,200 บาท

          สามารถกู้กยศ ได้

ติดต่อสาขาวิชาได้อย่างไร

          สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ห้อง 2421 ชั้น 2 อาคาร 24 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

          02 1601208

          088 6199978 (รองศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ ชูอินทร์

          Id line : sivapan.ch